วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน

ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร

โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ




การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น

การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น

กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี

ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม

สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ

สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้

กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้

(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น

กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง

ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง

1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง

1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง

การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง

ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้

ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง


การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้

1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ

ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย

ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ

ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้

(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน

อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
[แก้ไข] องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย

สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
[แก้ไข] เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น

1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ

2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร

3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่

องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย

1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี

2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล

3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้

อบต. ประกอบด้วย

1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้

(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ

นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ

การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร

สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน

ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร

การบริหารราชการเมืองพัทยา

จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย

สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา

ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน

ศาลยุติธรรม


ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
ศาลชั้นต้น (อังกฤษ: Trial court) เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นถัดจากศาลอุทธรณ์ลงมา เป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรก เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น

ศาลชั้นต้น ได้แก่
ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณี
ศาลจังหวัด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น ๆ
ศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ศาลชำนาญพิเศษ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลชำนาญพิเศษนั้น ๆ เช่น ศาลภาษีอากรกลาง มีอำนาจพิจารณาคดีภาษีอากร ศาลล้มละลายกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลแรงงาน ศาลเยาวชนและครอบครัว
แต่ทั้งนี้ ในส่วนของศาลชำนาญพิเศษ บางตำราอาจจัดเป็นคนละประเภทกับศาลชั้นต้น เพราะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อันเป็นกฎหมายฉบับหนึ่ง มีศักดิ์เป็นพระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทของศาลยุติธรรม เขตอำนาจศาลและองค์คณะผู้พิพากษา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ ดังนี้

มาตรา ๓ ศาลชั้นต้น (1) สำหรับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัดมีนบุรี (ค) ศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี (ง) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ (จ) ศาลแพ่งและศาลอาญา (2) สำหรับจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัด

ปัจจุบันนี้ในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีศาลจังหวัดมีนบุรีแล้ว ยังมีศาลจังหวัดดุสิต ศาลจังหวัดตลิ่งชัน และศาลจังหวัดพระโขนง เพิ่มเติมขึ้นมา โดยยกฐานะจากศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน และศาลแขวงพระโขนง ให้เป็นศาลจังหวัด เนื่องด้วยเป็นการเพิ่มเขตอำนาจให้กว้างขวางมากขึ้น สอดรับกับปริมาณคดีที่เพิ่มสูงขึ้น

และในอนาคต อาจมีการยกฐานะศาลแขวงปทุมวัน รวมถึงศาลแขวงอื่น ๆ ให้มีฐานะเป็นศาลจังหวัดอีกด้วย

ส่วนศาลทหาร ไม่ใช่ศาลยุติธรรม แต่เป็นศาลชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ กับมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ที่ทำการศาลอุทธรณ์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓)

ศาลฎีกามีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๗) แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นว่าควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ หรือเมื่อเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าให้คดีเรื่องใดวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด

องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด

ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 11 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน โดยแผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วยแผนกคดีที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย 10 แผนก ได้แก่

แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
แผนกคดีแรงงาน
แผนกคดีภาษีอากร
แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
แผนกคดีล้มละลาย
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ
แผนกคดีสิ่งแวดล้อม
แผนกคดีผู้บริโภค
แผนกคดีเลือกตั้ง
และแผนกคดีที่ศาลฎีกาแบ่งเป็นการภายใน 1 แผนกคือ

แผนกคดีปกครอง (ภายใน)
นอกจากผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ศาลฎีกามีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและค้นคว้าปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนช่วยตรวจและแก้ไขปรับปรุงร่างคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความถูกต้องความรวดเร็ว และความเป็นธรรมแก่ประชาชน

นอกจากอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต่าง ๆ คือ

1.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๕๕ บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่คัดเลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 5 คน ไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

2.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๓๘ (๒) บัญญัติให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่สรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๕ คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้งต่อไป

3.) พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕ (๑) บัญญัติให้ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีหน้าที่คัดเลือกผู้มีความรู้ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม จำนวน 1 คน ไปเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล

4.) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้รวม 2 กรณี

กรณีแรก เป็นกรณีตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่ามีสิทธิรับเลือกตั้งหรือไม่ และศาลฎีกาต้องพิจารณาและมีคำวินิจฉัยให้แล้วเสร็จก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน เมื่อศาลฎีกามีคำวินิจฉัยเช่นใด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลฎีกาโดยเร็ว

กรณีที่สอง เป็นกรณีตามมาตรา ๓๔/๑ วรรคหนึ่ง ก่อนวันเลือกตั้งถ้าปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการสอบสวนโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ซึ่งในกรณีที่สองนี้หากถึงวันเลือกตั้ง ถ้าปรากฏว่าไม่มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามวรรคหนึ่งหรือมีการยื่นคำร้องแล้ว แต่ศาลฎีกายังไม่มีคำวินิจฉัย ให้การพิจารณาเป็นอันยุติและให้ดำเนินการเลือกตั้งไปตามประกาศการรับสมัครที่มีผลอยู่ในวันเลือกตั้ง

สำหรับแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกานั้น จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๒ วรรคสองและวรรคสาม, มาตรา ๓๐๘ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย

องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปเนื่องจากเป็นระบบไต่สวน ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามวิธีพิจารณาคดีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒

รัฐบาล

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคนนโยบายลดความยากจนในรัฐบาลปัจจุบัน
นโยบายลดความยากจนในสมัยรัฐบาลทักษิณ (18 ก.พ. พ.ศ. 2544 -
ปัจจุบัน) ที่สำคัญซึ่งกำลังดำเนินการในปัจจุบัน 6 โครงการ
ได้แก่
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ธนาคารประชาชน โครงการการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกร
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลทักษิณ
เป็นแหล่งเงินทุนให้กับหมู่บ้านและชุมชนเมือง
เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านการพัฒนาอาชีพ
สร้างงาน สร้างรายได้ และด้านสวัสดิการสังคม โดยรัฐบาลจะให้เงิน
สนับสนุน
กองทุนๆ ละ 1 ล้านบาท โดยมีชาวบ้านเป็น
ผู้บริหารและควบคุมดูแลในการจัดการเงินกองทุนเอง
การจัดตั้งกองทุน
หมู่บ้านจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหาร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงาน
พร้อมทั้งแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ
เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจัดตั้ง
กองทุนหมู่บ้านจากทางฝ่ายราชการ
ส่วนหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองจะต้องจัดตั้งกองทุนและจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน
15 คน ซึ่งคณะกรรมการอาจจะประกอบด้วยตัวแทนกลุ่ม
องค์กรประชาชน
และประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชน พร้อมทั้งจัดทำระเบียบข้อบังคับ
หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกองทุนหมู่บ้าน รับสมัครสมาชิก ระดมทุน จัดทำระบบบัญชี
จัดทำระบบตรวจสอบ มอบหมายภารกิจและความรับผิดชอบ
แล้วจึงขอขึ้นทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน
หรือชุมชนเมืองกับธนาคารออมสิน
หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เพื่อเปิดบัญชีกับธนาคารสำหรับขอรับ
เงินกองทุน 1 ล้านบาท จากคณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
แต่ก่อนที่จะได้รับเงินสนับสนุน
กองทุนหมู่บ้านจะต้องถูกประเมินความพร้อมจาก
คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ ซึ่งมีประเด็นต่างๆ ได้แก่
- การคัดเลือกคณะกรรมการกองทุน

- คุณสมบัติของคณะกรรมการกองทุน
- ความรู้
ประสบการณ์และความมั่นใจในการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุน
-
ระเบียบข้อบังคับในการดำเนินการกองทุน
-
การมีส่วนร่วมของชาวบ้านหรือสมาชิกในการจัดการกองทุน
-
การปฏิบัติของสมาชิกตามระเบียบและข้อบังคับของกองทุน
-
การเปิดบัญชีเงินฝากของกองทุน
การประเมินความพร้อมของกองทุนหมู่บ้านจะแบ่งกองทุนหมู่บ้านออกเป็น
3 ประเภท คือ กลุ่มที่มีความพร้อม
กลุ่มที่ต้องปรับปรุง
และกลุ่มที่ต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
กลุ่มที่มีความพร้อมอยู่แล้วเป็นกลุ่มที่ผ่านการประเมินในประเด็นทั้งหมดข้างต้น
และพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมให้กู้แก่สมาชิกได้ทันที
ส่วนอีกสองกลุ่มที่เหลือเป็นกลุ่มที่ยังมีข้อบกพร่อง
ซึ่งจะต้องทำการแก้ไข
ปรับปรุงเพื่อเลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมต่อไป
การดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ในขณะนี้ได้ผ่าน
ขั้นตอนระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
แห่งชาติ
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2544
เงินกองทุนหมู่บ้านจะเริ่มลงหมู่บ้านครั้งแรกในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.
2544
นอกจากนี้ ยังมีโครงการต่อเนื่องจากโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองคือ
"โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์"
เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า
โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่
และการบริหารจัดการเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบร้านค้า
เครือข่ายและอินเตอร์เน็ต

ผลการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในปัจจุบัน
(26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) สรุปได้ดังนี้
1.
การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ได้ไปขอขึ้นทะเบียนเพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองแล้ว จำนวน
74,215
กองทุน คิดเป็นร้อยละ 98.23 ของหมู่บ้านและชุมชนเป้าหมาย 75,547
กองทุน
2. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับการอนุมัติและจัดสรรโอนเงินแล้ว
73,941 กองทุน คิดเป็น ร้อยละ 97.87 ของหมู่บ้าน
และชุมชนเป้าหมาย (75,547)
กองทุน โดยแยกเป็นกองทุนหมู่บ้าน 71,247 กองทุน และกองทุนชุมชนเมือง 2,694
กองทุน
3. การเบิกจ่ายเงินกองทุน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ปล่อยเงินกู้ให้สมาชิก เพื่อนำไปพัฒนา อาชีพ
สร้างงาน สร้างรายได้
ลดรายจ่าย และบรรเทาเหตุฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนแล้ว จำนวน
5,931,564 ราย รวมเป็นเงิน 78,613.24 ล้านบาท
วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินกองทุน จำแนกได้ดังนี้
(1)
การเกษตรร้อยละ 71.91
(2) ค้าขายร้อยละ 16.33
(3) อุตสาหกรรมร้อยละ
4.08
(4) การบริการร้อยละ 3.99
(5) บรรเทาเหตุฉุกเฉินร้อยละ 1.96
(6)
กิจกรรมกลุ่มร้อยละ 1.50
(7) อื่น ๆ ร้อยละ 0.23
การชำระคืนเงินกู้
พบว่าสมาชิกกองทุนที่ขอกู้เงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
เพื่อไปลงทุนในการประกอบกิจกรรม
ซึ่งส่วนใหญ่ กำหนดให้มีการชำระคืนภายใน 1 ปี
แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้บางส่วนจะยังไม่ถึงกำหนดชำระคืน
สมาชิกกองทุน
ต่างก็เริ่มทยอยในการส่งคืนเงินกู้แล้ว โดยมีการชำระคืนเงินต้น
จำนวน 2,469,324 ราย รวมเป็นเงิน 5,190.83 ล้านบาท
และดอกเบี้ย จำนวน 2,391,494
ราย รวมเป็นเงิน 1,031.76 ล้านบาท
จากการติดตามประเมินผลการส่งคืนเงินของผู้กู้
โดยกรมการพัฒนาชุมชนพบว่าสมาชิกที่ครบกำหนดชำระคืนเงินงวด
สามารถ
นำเงินงวดมาส่งชำระกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านครบตามกำหนดทุกครั้งร้อยละ
89.1 โดยร้อยละ 70.7 ชำระคืนครั้งเดียว
หมด และอีกร้อยละ 29.3 ชำระคืนเป็นงวดๆ ทั้งนี้ ร้อยละ 10
ของผู้กู้ส่งคืนตรงตามกำหนดเวลาเป็นครั้งคราวมีเพียงร้อยละ
1
เท่านั้นที่ไม่สามารถ ส่งคืนเงินได้ตามกำหนดเวลา
สำหรับแหล่งเงินที่นำมาชำระคืนส่วนใหญ่ร้อยละ 63
ได้จากอาชีพที่กู้ ที่เหลือจะนำมาจากเงินสะสมในครอบครัวร้อยละ
19.1
เงินจากรายได้อื่นของครอบครัวร้อยละ 10.1
และกู้จากแหล่งอื่นมาชำระคืนอีกร้อยละ 7

นโยบายการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา
3 ปี
โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย
เป็นโครงการที่ดำเนินงานผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
จุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินและความยากจนให้กับเกษตรกรรายย่อย
ให้เกษตรกรรายย่อย
สามารถมีเงินออมเพื่อใช้ในการลงทุนพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น
ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโครงการ
พักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกร
โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา
ธ.ก.ส.
ใช้วิธีการลงพื้นที่เรียกประชุมกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส.
เพื่อให้เกษตรกรตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมโครงการหรือไม่
ซึ่งเกษตรกรที่จะเข้าร่วม
โครงการจะต้องมีหนี้เงินกู้ ไม่เกิน 100,000 บาท ณ
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2544
ไม่รวมหนี้เงินกู้ที่เกิดจากโครงการ
สินเชื่อตามนโยบายรัฐและไม่รวมดอกเบี้ยเงินกู้)
และต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.
2544
โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถเลือก ที่จะรับความช่วยเหลือได้ 2
แนวทาง คือ แนวทางที่หนึ่ง เกษตรกรขอพักชำระหนี้
แนวทางที่สอง
เกษตรกรขอลดภาระหนี้สิน ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1 ขอพักชำระหนี้
เกษตรกรรายย่อยที่ขอพักชำระหนี้จะได้รับการพักชำระเงินต้นและ ดอกเบี้ยตลอดระยะเวลา
3 ปี
จาก ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 เม.ย. พ.ศ. 2544 - 31 มี.ค. พ.ศ. 2547)
โดยในส่วนของดอกเบี้ยที่เกษตรกรจะต้องจ่ายในช่วงเวลา
การพักชำระหนี้รัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระจ่ายดอกเบี้ยให้กับ
ธ.ก.ส.
เมื่อครบกำหนดพักชำระหนี้เกษตรกรจะต้องชำระเงินต้น
และดอกเบี้ยในอัตราเดิมก่อนเข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการแล้วจะไม่มีสิทธิกู้เงินเพิ่มจาก ธ.ก.ส.
ได้อีก
ตลอดระยะเวลา 3 ปี
แต่รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพให้แก่เกษตรกรภายใต้
"โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรภายหลัง
การพักชำระหนี้"
โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เกษตรกรที่เข้าร่วม
โครงการจะต้องจัดทำแผน
การออมเงินตามกำลังความสามารถของตนเองกับ ธ.ก.ส.
ให้สอดคล้องกับโครงการฟื้นฟูอาชีพหลังการพักชำระหนี้เพื่อป้องกัน
การใช้เงินโดยไม่เหมาะสมและสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับครอบครัวและสมาชิก
หากเกษตรกรรายย่อยต้องการออกจาก
โครงการพักชำระหนี้เพื่อเปลี่ยนไปขอรับความช่วยเหลือในรูปแบบการขอลดภาระหนี้สินได้
โดยมีเงื่อนไขว่าเกษตรกรรายนั้น
จะต้องอยู่ในโครงการพักชำระหนี้มาไม่น้อยกว่า 1
ปี
นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เพิ่มจากอัตราปกติที่
ธ.ก.ส. จ่ายให้อีกร้อยละ 1 ต่อปี ในจำนวนเงินฝาก ไม่เกินรายละ 50,000 บาท
บทลงโทษสำหรับเกษตรกร
ที่ไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขของโครงการพักชำระหนี้คือจะถูกให้ออกจากโครงการและต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่
ธ.ก.ส.
ตามเกณฑ์ลูกค้าชั้น B บวกด้วยเบี้ยปรับอีกร้อยละ 3 ต่อปี
แนวทางที่ 2 ขอลดภาระหนี้
เกษตรกรรายย่อยที่เลือกรับความช่วยเหลือนี้จะได้รับการชดเชยอัตราดอกเบี้ยจากรัฐบาล
ในอัตราร้อยละ
3 ต่อปี ตลอดระยะเวลา 3 ปี (ตั้งแต่ 1 เม.ย. พ.ศ. 2544 - 31 มี.ค. พ.ศ. 2547)
กล่าวคือ รัฐบาลจะช่วยเกษตรกร
จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส. ตัวอย่างเช่น
ลูกค้าชั้น AAA จะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ยจากอัตราปกติร้อยละ 8 ต่อปี เหลือร้อยละ
5
ต่อปี เป็นต้น เกษตรกร
ที่ขอลดภาระหนี้มีสิทธิที่จะขอกู้เงินเพิ่มใหม่ได้ในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
กู้ฉุกเฉินพิเศษ
ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท
นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มจากอัตราปกติ
ที่
ธ.ก.ส. จ่ายให้อีกร้อยละ 1 ต่อปี ในจำนวนเงินฝากไม่เกินรายละ 50,000 บาท
แต่เกษตรกรที่ขอลดภาระหนี้จะไม่สามารถ
เปลี่ยนการรับความช่วยเหลือเป็นการขอพักชำระหนี้ได้ในภายหลังเพื่อเป็นการป้องกันเกษตรกรที่มีเจตนาไม่สุจริตซึ่งจะเป็นภาระ
แก่รัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณและควบคุม
ดูแลในกรณีที่เกษตรกรที่ขอลดภาระหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
จะถูกให้ออกจากโครงการ
และเสียดอกเบี้ยตามเกณฑ์ โครงสร้างดอกเบี้ยของ ธ.ก.ส.
ในการดำเนินนโยบายพักชำระหนี้
และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยรัฐบาลได้ตั้งเงินงบประมาณ
ในการดำเนินการในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 6,000
ล้านบาท
เพื่อจ่ายเป็นค่าชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรรายย่อยให้แก่ ธ.ก.ส. ในปีแรก
จำนวนเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในหลักเกณฑ์
การได้รับการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ทั้งประเทศ
2,379,788 ราย หรือร้อยละ 83 ของเกษตรกรทั้งหมดที่เป็นลูกหนี้ของ
ธ.ก.ส.
รวมเป็นวงเงิน 94,056 ล้านบาท
จำนวนเกษตรกรรายย่อยที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ผ่าน
ธ.ก.ส.
ตั้งแต่เริ่มโครงการถึงปัจจุบัน (30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544) มีจำนวน
1,754,295 คน คิดเป็นร้อยละ 73.72
ของเกษตรกร
รายย่อยทั้งหมดที่เข้าข่ายการได้รับความช่วยเหลือ
ในจำนวนเกษตรกรที่ขอเข้าร่วมโครงการแบ่งเป็นเกษตรกรที่ขอพักชำระหนี้
845,631 ราย
เกษตรกรที่ขอลดภาระหนี้สิน 908,664 ราย

ธนาคารประชาชน
โครงการธนาคารประชาชนเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลปัจจุบัน
เพื่อให้คนจนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกขึ้น
ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำเงินทุนดังกล่าวไปประกอบอาชีพ
ธนาคารออมสินเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลกำหนดให้จัดตั้งโครงการ
ธนาคารคนจนขึ้น
เพื่อตอบสนองความต้องการเงินทุนของประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย
โดยการให้บริการด้าน
การออมทรัพย์
บริการด้านสินเชื่อที่มีเงื่อนไขไม่ยุ่งยากในวงเงินที่เพียงพอต่อความจำเป็น
ตลอดจนบริการด้านการเงินในรูปแบบ
อื่นๆ ตามความต้องการ
นอกจากนี้ยังจัดให้มีบริการให้การฝึกอบรมที่จำเป็น
ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาทั้งทางด้านการเงิน
อาชีพ และด้านอื่น ๆ
เป็นพิเศษแก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิกของโครงการธนาคารประชาชนด้วย
ผู้ที่จะขอกู้เงินกับโครงการธนาคารประชาชนจะต้องเป็นผู้ประกอบการรายย่อย
ผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือผู้ที่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพ
ใดๆ
แต่ต้องมีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถสมัครเข้าโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 25
มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยเปิดบัญชีเงินฝาก
ประเภทเผื่อเรียกในชื่อผู้สมัคร 1 บัญชี
ลูกค้าสามารถ ขอกู้เงินได้หลังจากที่มีเงินฝากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2
เดือน
แต่สำหรับลูกค้าที่มีเงินฝากอยู่กับธนาคารออมสินอยู่ก่อนแล้ว (มากกว่า 2
เดือน) สามารถกู้เงินได้ทันจำนวนเงินกู้ธนาคาร
จะให้กู้ตามวงเงินที่ต้องใช้จริง
ที่จะนำไปประกอบอาชีพและตามความสามารถที่ลูกค้าสามารถชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยได้
โดยวงเงินกู้ปีแรก
ไม่เกิน 15,000 บาท วงเงินกู้ครั้งต่อไปไม่เกินรายละ 30,000 บาท
ในกรณีที่ลูกค้าขอกู้เงินมากกว่า 30,000
บาท ให้ใช้หลักทรัพย์ตามที่ธนาคารกำหนด
โดยธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน
การกู้เงินจากโครงการ
ธนาคารประชาชนจะต้องมีหลักทรัพย์
หรือบุคคลที่เข้าร่วมโครงการค้ำประกัน 2 คน หรือข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ค้ำประกัน
การผ่อนชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยภายในระยะเวลาไม่เกิน 13
งวด
โดยวิธีหักจากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับธนาคาร
สิทธิพิเศษของผู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้จะได้รับการประกันอุบัติเหตุในวงเงินไม่เกิน
100,000
บาท ทั้งนี้ธนาคารออมสินได้เริ่มดำเนินโครงการ ธนาคารประชาชน เมื่อวันที่ 25
มิถุนายน พ.ศ. 2544

สรุปข้อมูลธนาคารประชาชน

ภาค การรับสมาชิก
สมาชิกรวม สมาชิกที่ขอกู้
ราย เงินฝาก
(บาท) ราย ร้อยละของสมาชิกรวม
กทม.
+ ปริมณฑล 106,593 209,325,900.17 93,440 87.66
ภาคกลาง 107,030 277,758,626.72 83,049 77.59
ภาคเหนือ 97,675 315,866,544.99 92,044 94.23
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 153,879 468,477,656.20 127,509 82.86
ภาคใต้ 72,154 209,397,537.57 60,693 84.12
รวม 537,331 1,480,826,265.65 456,735 85.00
ที่มา: เว๊บไซต์พรรคไทยรักไทย
(http://www.thairakthai.or.th/article/bansat_bank.htm)


ภาค การอนุมัติสินเชื่อ
ราย จำนวนเงิน (บาท) ร้อยละ
ของสมาชิกรวม ของสมาชิกที่ขอกู้
กทม. +
ปริมณฑล 79,372 1,219,331,809.00 74.46 84.94
ภาคกลาง 74,714 1,215,554,854.00 69.81 89.96
ภาคเหนือ 84,565 1,432,518,748.00 86.58 91.87
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 110,589 1,825,358,720.00 71.87 86.73
ภาคใต้ 55,897 919,179,472.00 77.47 92.10
รวม 405,137 6,611,943,603.00 75.40 88.70
ที่มา: เว๊บไซต์พรรคไทยรักไทย
(http://www.thairakthai.or.th/article/bansat_bank.htm)

ภาค สินเชื่อคงเหลือ ชำระคืน
(บาท)
ราย เงิน
(บาท)
กทม.
+ ปริมณฑล 61,551 587,424,105.20 631,907,703.80
ภาคกลาง 56,270 570,769,601.63 644,785,252.37
ภาคเหนือ 56,529 727,475,937.75 705,042,810.25
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 80,278 898,023,041.30 927,335,678.70
ภาคใต้ 42,580 569,075,401.63 450,104,070.37
รวม 297,208 3,252,768,087.51 3,359,1754,515.49
ที่มา: เว๊บไซต์พรรคไทยรักไทย
(http://www.thairakthai.or.th/article/bansat_bank.htm)

นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการ 30
บาทรักษาทุกโรค)
เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ชาวไทยที่มีสิทธิในการได้รับการบริการทางด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
มีความเท่าเทียม และทั่วถึงกัน นอกจากนี้ผู้ยากไร้
มีสิทธิ
ได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โดยรัฐบาลมีหลักการและเหตุผลในการเสนอนโยบายนี้เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณาสุขของประชาชนที่ยากจนและมีรายได้
น้อย
เพราะจากข้อมูลพบว่าค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของคนไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยมีสัดส่วนถึงประมาณร้อยละ
60 ของยอดรวมค่าใช้จ่ายสาธารณสุขทั้งหมด
โดยโครงการประกันสุขภาพใหม่ที่ทางรัฐบาลจัดให้นี้
ประชาชนจะจ่ายค่ารักษา
พยาบาลเพียงครั้งละ 30 บาท
ประกอบกับโครงการสงเคราะห์คนยากจนและผู้มีรายได้น้อยทางด้านสาธารณสุขในอดีต
ไม่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการบริหารจัดการและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
หลักการพื้นฐานในการดำเนินโครงการเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับและเป็นเจ้าของร่วมกัน
และประชาชน
ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรับบริการที่มีคุณภาพ
โดยในอนาคตสามารถเลือกขึ้นทะเบียนกับสถานบริการปฐมภูมิ
ิที่ตนพึงพอใจได้เอง
และสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการรับรองคุณภาพ (Quality
Accreditation)
โดยจะต้องให้
ความสำคัญกับระบบบริการปฐมภูมิเป็นสถานบริการด่านแรก (Primary care gatekeeper)
สำหรับการบริหาร-จัดการจะต้องทำ
ในลักษณะเครือข่ายทั้งระหว่างภาครัฐด้วยกันเองและภาครัฐกับเอกชน
ให้มีระบบการคลังที่สามารถ
ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว (Cost containment
system)
โดยไม่กระทบต่อคุณภาพและการเข้าถึงบริการของประชาชน
และไม่เกิดการใช้และให้บริการมากเกินความจำเป็น
รูปแบบการจ่ายเงินแก่สถานบริการต้องเป็นการจ่ายแบบปลายเปิด
และเป็นการจ่ายเงินแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การดำเนินงาน
(performance related payment)
ในส่วนของสิทธิประโยชน์
และรูปแบบหรือกลไกการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันในระบบประกันสุขภาพ
และตั้งเป้าหมายไว้ว่า
ระบบประกันสุขภาพในอนาคตจะเป็นระบบกองทุนเดียว
การดำเนินงานที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้แต่งคณะทำงานชุดต่างๆ
รวมทั้งสิ้น 10 คณะ เพื่อทำการศึกษารายละเอียด
ขั้นตอน วิธีการ
ขององค์ประกอบที่เป็นปัจจัยนำเข้าสู่ระบบการดำเนินการ
และได้มีการออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยการสร้าง
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี พ.ศ. 2544 ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
เงื่อนไข
สิทธิประโยชน์ต่างๆ ในการดำเนินการนำร่องใน 6 จังหวัด
โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพที่มีบทบาทหน้าที่
ในการกำหนดนโยบายและมาตรฐานการดำเนินงานในด้านต่างๆ
ตลอดจนการควบคุม กำกับติดตามและประเมินผล
การดำเนินงาน
และระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการสร้างหลักประกันสุขภาพ ฉบับที่ 3
กำหนดให้มีคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพจังหวัด
มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพของพื้นที่ให้สอดคล้องกับนโยบาย
และแผนด้านสุขภาพของประเทศ
จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการพัฒนาสุขภาพในพื้นที่
กำหนดหลักเกณฑ์
และจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพให้แก่หน่วย เครือข่ายบริการ
ตามกรอบนโยบายที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
ส่วนกลางกำหนด โดยระเบียบฯ ฉบับที่
3 นี้
ได้ยุบรวมผู้มีสิทธิตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสวัสดิการประชาชน
ด้านการรักษาพยาบาล
ผู้มีสิทธิตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินอุดหนุนโครงการรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อย
และผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล
และบุคคลผู้มีสิทธิตามระเบียบกระทรวง
สาธารณสุขว่าด้วยบัตรประกันสุขภาพ
ให้เข้าสู่การคุ้มครองตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ
โดยเริ่มต้นโครงการนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัดแรก ในวันที่ 1
เมษายน พ.ศ. 2544 ได้แก่ พะเยา ยโสธร ปทุมธานี นครสวรรค์
สมุทรสาคร และยะลา
ภายใต้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี พ.ศ. 2544
และระเบียบ
เงินอุดหนุนโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน 6 จังหวัด
ซึ่งเดิม 6 จังหวัดนี้ได้ดำเนินการภายใต้โครงการเงินกู้
เพื่อการลงทุนทางสังคม
(SIP) และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้ขยายพื้นที่การดำเนินการออกไปอีก 15
จังหวัด ได้แก่
นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี นครราชสีมา สุรินทร์
หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ สุโขทัย แพร่ เชียงใหม่
ภูเก็ต
และนราธิวาส ซึ่งในโครงการระยะที่ 2 นี้
ดำเนินงานภายใต้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ
พ.ศ. 2544
ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคมในปีเดียวกัน
ได้ขยายการดำเนินการครอบคลุมไปยังทุกจังหวัดรวมกรุงเทพมหานคร 13
เขต
โดยมีการยุบและเลิกบัตร สปร.
แล้วเปลี่ยนเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ายกเว้นค่าธรรมเนียม (ตามระเบียบฯ ฉบับที่
3)
และมีคำสั่งยุติการขายบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม
พ.ศ. 2544 (ตามระเบียบฯ ฉบับที่ 3)
แต่จะสามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าบัตรจะหมดอายุ
การดำเนินการในระยะที่ 3 นี้ถือว่าเป็นการยุบรวมโครงการที่ดำเนินการ
ระยะที่ 1 -
2 เข้ามาสู่ระบบเดียวกัน

ภายใต้การดำเนินโครงการดังกล่าว
ได้มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (War Room)
เพื่อทำหน้าที่
ในการตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ การปรับปรุงนโยบาย โครงสร้าง
ระบบการทำงาน ระบบงบประมาณ ระเบียบ
คำสั่ง
และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สอดคล้องกันเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป
และควบคุมกำกับ
การดำเนินงานตามแผนงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม
และพิจารณาข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์
ที่จะเผยแพร่
แก่สาธารณชนทราบและเข้าใจเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
นอกจากนี้
ยังได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน (Call center)
เพื่อให้คำแนะนำตลอดจนแก้ไขปัญหาในการใช้บริการ
ให้กับประชาชนทางโทรศัพท์
และมีแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เพื่อทำหน้าที่ในการ
ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี
ในด้านนโยบายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ในด้านต่างๆ
ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ที่เกี่ยวข้องขึ้นอีก 7 ชุดด้วยกัน

การให้บริการที่ผ่านมาได้ให้บริการแก่ประชาชนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแต่อาศัยอยู่จริง
ในพื้นที่ที่โครงการกำลังดำเนินการอยู่
และไปขอขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อให้หน่วยงานออกบัตร
ประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองและกำหนดโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่เดียวกับที่อยู่ตามทะเบียนบ้านเป็นโรงพยาบาลประจำ
ครอบครัว
โดยในแต่ละครั้งที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่กำหนดจะเสียค่าใช้จ่าย 30
บาท ยกเว้นการรับบริการ
ส่งเสริม สุขภาพ การป้องกันโรคและการควบคุมโรค
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ไม่เกิน 2 ครั้ง/ปี)
ผู้ถือบัตร
ประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าสามารถไปใช้สถานพยาบาลอื่นได้
แต่ต้องแจ้งสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรภายใน 72 ชั่วโมง หรือ
3
วันเพื่อให้โรงพยาบาล ประจำไปรับมารักษา และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
หากไม่มีการแจ้งตามระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว
ผู้ถือบัตรจะต้องรับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการนำร่องเป็นวงเงินทั้งสิ้น
399,791,700 บาท โดยให้จ่ายจาก
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี พ.ศ. 2544
โดยการจัดสรรงบประมาณจะต้องจัดสรรแบบเหมาจ่ายต่อหัวตามจำนวน
การขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิ์ที่เป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่จังหวัดส่งให้สำนักงานประกันสุขภาพตรวจสอบความถูกต้อง
โดยกำหนด
อัตราเหมาจ่ายรายหัว 477 บาทต่อปี
งบประมาณในระยะที่ 2
มีการศึกษาต้นทุนต่อคนในการจัดบริการและพบว่าต้นทุนการจัดบริการอยู่ที่ 1,202
บาทต่อคนต่อปี
โดยในปี งบประมาณ พ.ศ. 2545
รัฐได้จัดสรรงบเพื่อดำเนินงานตามโครงการฯ จำนวน 54,160 ล้านบาท
ต่อมาคณะกรรมการ
พิจารณา
ต้นทุนอัตราเหมาจ่ายรายหัวประชากรในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ได้เสนอตัวเลขงบเหมาจ่ายไว้ที่ 1,414
บาทต่อคน ทำให้คาดว่าในปี พ.ศ. 2546
ต้องใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นในโครงการ 63,630 ล้านบาท เพิ่มจากปี พ.ศ. 2545
จำนวน
9,470 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานในช่วงสามเดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
มีบัตรที่มีปัญหาซ้ำซ้อนมากกว่าร้อยละ 10 แต่ค่อยๆ ลดลง
เหลือประมาณร้อยละ 7 ใน
3 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2545 โดยมีสาเหตุจาก
ผู้มีสิทธิ์ต้องการรักษาสิทธิ์หลายอย่างเนื่องจาก
ไม่มีสิทธิ์ใดที่ดีกว่าสิทธิ์อื่นในทุกด้าน
นอกจากนี้การออกบัตรโดยพึ่งทะเบียนราษฎร์เป็นหลัก
ทำให้ยังมีปัญหาการเข้าไม่ถึง
กลุ่มคนจนที่สุด กลุ่มเร่ร่อนและย้ายถิ่น
ชาวเกาะและชาวเล
หรือแม้กระทั่งผู้ที่อยู่อาศัยในเขตเมืองที่ไม่มีบัตรประชาชน
และยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความถูกต้องในเรื่องสัญชาติ
การดำเนินการใน 75
จังหวัดในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
พบว่าอัตราการมารับบริการของผู้ป่วยนอก
ที่โรงพยาบาลชุมชนเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวจาก
1.1 ครั้งต่อคนต่อปี (ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544) เป็น
2.3
ครั้งต่อคนต่อปี สำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เพิ่มจาก 2.5 ครั้งต่อคนต่อปี เป็น 2.8
ครั้งต่อคนต่อปี ในขณะที่อัตราการรับ
ผู้ป่วยในมีประมาณร้อยละ 11 ซึ่ง
ใกล้เคียงกับปีก่อน
การบริหารจัดการในส่วนกลางมีปัญหาเนื่องจากการให้อำนาจบริหารโครงการฯ
แบบเบ็ดเสร็จแก่ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข
ทำให้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
ถูกผลักดันแยกจากโครงการอื่นๆ
ซึ่งผู้บริหารดังกล่าวไม่ได้มีอำนาจในโครงการอื่นๆ
มีผลทำให้การร่าง
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีทิศทางไม่ชัดเจนตามไปด้วย
และยังทำให้ภาพรวมของสถานพยาบาล
ขาดเอกภาพ เพราะผู้ให้บริการรายอื่นๆ
ที่ไม่ใช่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเกรงว่าอำนาจการบริหารที่กระทรวงฯ
มีเหนือโครงการฯ
จะกลายเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ปกป้องผลประโยชน์ทั้งทางการเงินและการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ของกระทรวงฯ
นอกจากนี้การรับเป็นนายทะเบียนฐานข้อมูลประชากรในระยะเริ่มต้นของกระทรวงสาธารณสุขทำให้มีปัญหาในเรื่องการจัดการ
ค่อนข้างมาก
ตลอดจนระเบียบแนวทางปฏิบัติเรื่องการเงินและบัญชียังขาดความชัดเจน
และการขาดการจัดการที่เป็นระบบของ
กองทุน ที่เก็บสมทบไว้ ส่วนกลาง ได้แก่
เงินที่หักสำหรับจ่ายกรณีค่าบริการทางการแพทย์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง
และกรณีฉุกเฉิน
นอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการจัดสรรงบประมาณให้กับการดำเนินงานโครงการในปี
พ.ศ. 2546 และสุดท้าย
การให้สถานพยาบาลเป็นหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนของประชาชน
อาจจะก่อให้เกิดปัญหาการขัดกันของผลประโยชน์ได้

ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการในส่วนภูมิภาค คือ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลเครือข่ายยังขาดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ
ตลอดจนความพร้อมในเรื่องฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมาย
ปัญหาอื่นๆ คือ
ประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขในการใช้บริการโครงการ
ทำให้มีการข้าม
ขั้นตอนการใช้บริการมาก
และประเด็นเรื่องคุณภาพของการให้บริการที่หลายฝ่ายระบุว่าโครงการ 30
บาทรักษาทุกโรค
เป็นโครงการ ชั้นสาม
ซึ่งอาจจะชักนำให้มาตรฐานของโรงพยาบาลของรัฐลดต่ำลงในอนาคต
จุดเด่นในการบริหารโครงการในส่วนกลาง ได้แก่
การแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ
ตลอดจนการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า (War room)
มีความรวดเร็ว เพราะไม่ต้องผ่านกลไกปกติของราชการ
ประการต่อมาการบริหารโครงการฯ
แยกจากโครงการประกันสังคมและโครงการสวัสดิการข้าราชการตั้งแต่ในระยะแรก
มีส่วนช่วยให้โครงการนี้ดำเนินการไปได้
อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
โดยไม่ต้องผ่านสาธารณสุข
จังหวัด
ทำให้ข้อมูลเดินทางเข้าสู่ส่วนกลางได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม
และสุดท้ายการที่ส่วนกลางให้ความสำคัญกับสิทธิ
และการร้องเรียนของประชาชนมากขึ้น
นับเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในระบบบริการสาธารณสุข
จุดเด่นในการบริหารจัดการในส่วนภูมิภาค ได้แก่
การสร้างความร่วมมือกันระหว่างสถานีอนามัยและโรงพยาบาล
ในเรื่องการวางแผน
การทำงานร่วมกัน และการพัฒนาศักยภาพของสถานีอนามัย
จากระบบการให้โรงพยาบาลต่างๆ
ถือเงินของสถานีอนามัยในพื้นที่
รับผิดชอบของโรงพยาบาล
มีผลให้สถานีอนามัยหลายแห่งมีคุณภาพการให้บริการที่สูงขึ้น
และทำให้ได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น
ซึ่งในหลายพื้นที่ทำให้โรงพยาบาลมีภาระผู้ป่วยนอกลดลง
ประเด็นที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ได้แก่
ควรให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกโรงพยาบาลเองหรือไม่
และจะมีแนวทางการจัดการ
งบประมาณเกี่ยวกับโครงการนี้อย่างไรในอนาคต
นอกจากนี้ควรรวมกองทุนหลักประกันสุขภาพที่กระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน
ให้เป็นกองทุนเดียวกันหรือแยกกันบริหารดังเช่นในปัจจุบัน
และจะกำหนดบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในระยะยาวอย่างไร
ตลอดจนประเด็นการผูกเงินเดือนของบุคลากรทางการแพทย์ไว้กับยอดเหมาจ่ายในการรักษาพยาบาลมีความเหมาะสมหรือไม่
นอกจากนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลยังไม่มีจุดยืนที่แน่ชัดระหว่างการต้องการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เป็น
"สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทย"
กับการเป็น "โครงการช่วยเหลือคนจน"
(ข้อมูลส่วนใหญ่รวบรวมจากรายงานวิจัยเรื่อง
การติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ "30 บาทรักษาทุกโรค"
ของกระทรวงสาธารณสุข
โดย วิโรจน์ ณ ระนอง และ ผศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง และคณะ (2545) และ
รายงานผลการดำเนินงาน
สร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนไทยในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 โดยสำนักงานประกันสุขภาพ
(2545)

โครงการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์
เป็นหนึ่งในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ต้องการสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ที่มาจากท้องถิ่น
ให้ชุมชนสามารถ
ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งจากภายในและภายนอกประเทศจากวัตถุดิบและภูมิปัญญาภายในท้องถิ่น
เพื่อสร้างงาน
และสร้างรายได้ขึ้นภายในท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง
โดยรัฐจะให้การสนับสนุนในเรื่องความรู้
ู้สมัยใหม่
การบริหารจัดการและเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนเพื่อจัดจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งได้กำหนดระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.) พ.ศ. 2544 โดยมี
นายปองพล อดิเรกสาร
รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ กอ.นตผ.
การจัดกลไกการบริหารโครงการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.)
เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายยุทธศาสตร์
และแผนแม่บทในการดำเนินงาน
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์
ดีเด่นของตำบล
และสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย
ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการตั้ง
คณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 9
ชุด
ขั้นตอนการบริหารเริ่มจากในระดับตำบล (อบต./ท้องถิ่น)
จะชี้แจงแนวคิด
และจัดประชาคมเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล
ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัตถุดิบในท้องถิ่น และแผนชุมชน เพื่อเสนอให้กับระดับอำเภอ
ซึ่งในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ
(นตผ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ)
จะจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นตำบลต่างๆ ของอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
ตลอดจนบูรณาการแผนและงบประมาณ
เพื่อให้การสนับสนุน ในขณะที่ระดับจังหวัด
(นตผ.จังหวัด) จะจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับอำเภอต่างๆ ของจังหวัด
และบูรณาการ
แผนและงบประมาณ โดยในส่วนกลาง (กอ.นตผ.)
จะทำหน้าที่หลักในการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่น
ของตำบล
และสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในบัญชีให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และแผนแม่บท
การดำเนินงานที่ผ่านมา
มีผลิตภัณฑ์ดีเด่นที่ได้รับการคัดเลือกโดยผ่านกระบวนการประชาคมในระดับตำบลจำนวน
6,358 ผลิตภัณฑ์
ซึ่งในจำนวนนี้
ถูกคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับจังหวัดจำนวน 925 ผลิตภัณฑ์
และมีผลิตภัณฑ์ที่จะประกาศขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนวน
461 รายการ นอกจากนี้มีการบูรณาการบัญชีผลิตภัณฑ์เด่นของหน่วยงานต่างๆ
ซึ่งมีหลายหน่วยงาน
ดำเนินการให้เป็นบัญชีหลักเพียงบัญชีเดียว
ยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนก่อนเริ่มนโยบายหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์
ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2544 มีจำนวน 216 ล้านบาท
ภายหลังการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์
แล้วปรากฏว่ามียอดจำหน่ายระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2545
รวม 23,987 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการรายได้
ในปี พ.ศ. 2545
ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 10,906 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 219.94 ของประมาณการรายได้ปี
พ.ศ. 2545 และมีรายได้
จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546
มีจำนวน 7,236 ล้านบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับมาตรฐาน
เช่น มาตรฐาน อย. มอก.
ฮาลาล ฯลฯ ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 มีจำนวน 4,065 ผลิตภัณฑ์
ในส่วนของการเชื่อมโยงเครือข่ายสินค้ากับตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ
ได้มีการจัดทำเว็บไซด์ไทยตำบลดอทคอมขึ้น
ซึ่งได้ดำเนินการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ
กอ.นตผ. ไว้ในเว็บไซด์ดังกล่าว รวมทั้งนำข้อมูลของกลุ่มอาชีพ
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ที่ได้รับการคัดสรรเป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จากตำบลต่างๆ
เข้าระบบแล้วจำนวน 5,054 ตำบล
จำนวนสินค้าที่เข้าระบบจำนวน 16,797 รายการ
และสินค้าที่ดำเนินการเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วมีจำนวน 1,181
รายการ
ในปี พ.ศ. 2546
มีเป้าหมายที่จะขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ นตผ. ที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น อย.
มอก. ฮาลาล และอื่นๆ
จำนวนไม่น้อยกว่า 3,500 ผลิตภัณฑ์ จากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่
จำนวน 6,358 ผลิตภัณฑ์
และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับคัดเลือก
เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นในจังหวัดเพิ่มเป็น
1,500 ผลิตภัณฑ์ จากเดิม 925 ผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับชาติ
ให้เพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 750
ผลิตภัณฑ์ จากเดิมที่ประกาศขึ้นบัญชีแล้ว 461 ผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้จะยกระดับผลิตภัณฑ์ดีเด่น
ตามกลุ่มสินค้า 6 ประเภท ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอ จักสานและเส้นใยพืช อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพร
เครื่องปั้นดินเผา
ศิลปหัตถกรรมและสุราแช่ และกลุ่มศิลปวัฒนธรรมและสถานที่บริการ
โดยจะส่งเข้าประกวด นตผ. ดีเด่นระดับจังหวัด และระดับ
ประเทศ
นอกจากนี้ยังมีแผนเพิ่มช่องทางด้านการตลาดให้มีแหล่งรวมและกระจายสินค้า นตผ.
ระดับภาค จำนวน 6 แห่ง และสร้าง
เครือข่ายด้านการตลาด จังหวัดละ 1 เครือข่าย รวม
75 เครือข่าย นอกจากนี้จะจัดให้มีช่องทางการตลาดในสถานที่อื่นๆ
เช่น
ห้างสรรพสินค้า แหล่งท่องเที่ยว ปั๊มน้ำมัน และสถานศึกษา จำนวน 18,000
แห่ง
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนจำนวน
9,000 คน ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการจัดการ
และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
และส่งเสริมการเป็นวิทยากรถ่ายทอดการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน จำนวน 6,000 คน

สำหรับการประชาสัมพันธ์และการเพิ่มช่องทางการตลาด
จะจัดระบบข้อมูลสินค้า นตผ. ทั่วประเทศ
เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์
สินค้าและบริการบนเว๊บไซต์และอีคอมเมอร์ส
จำนวนไม่น้อยกว่า 3,500 ผลิตภัณฑ์
จากยุทธศาสตร์การดำเนินการดังกล่าวในปี พ.ศ. 2546
คาดว่าจะมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการจากโครงการ
หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี
(ข้อมูลส่วนหนึ่งรวบรวมจากเว๊บไซต์ www.thairakthat.or.th
(ผลงาน 2 ปี ของพรรคไทยรักไทย))
ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
2. การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. สำนักนายกรัฐมนตรี
2. กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
3. ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
4. กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง
1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง

รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา


ห้องประชุมรัฐสภาไทย
รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง
ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
• หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
• หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
• หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
ประธานรัฐสภาไทย
ดูบทความหลักที่ รายนามประธานรัฐสภาไทย
จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้
• 1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
o 28 มิถุนายน - 1 กันยายน 2475
o 15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
• 2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
o 2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
• 3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
o ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
 26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
 6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
o ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
 31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
 15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
• 4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
o ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
 22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
 17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
 7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
o ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
 26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
 20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
 15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
 22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
• 5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
o 3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
o 10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
o 28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
o 12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
o 28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
o 1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
o 1 กรกฎาคม 2484 - 24 มิถุนายน 2485
o 30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
o 2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
o 29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
o 26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
• 6. พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
o 4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
• 7. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
o 1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
o 22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
o 28 มิถุนายน 2495 -23 มิถุนายน 2496
o 2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
o 29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
o 2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
o 30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
o 16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
o 28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500
o 27 ธันวาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2501
o 25 มิถุนายน 2501 - 20 ตุลาคม 2501
• 8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)
o ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
 20 กันยายน 2500 - 14 ธันวาคม 2500
o ประธานรัฐสภา ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
 6 กุมภาพันธ์ 2502 - 17 เมษายน 2511
• 9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
o 8 พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511
• 10. พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
o 22 กรกฎาคม 2511 - 6 กรกฎาคม 2514
o 7 กรกฎาคม 2514 - 17 พฤศจิกายน 2514
• 11. พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
o 18 ธันวามคม 2515 - 11 ธันวาคม 2516
• 12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
o 29 ธันวาคม 2516 -7 ตุลาคม 2517
• 13. นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
o 17 ตุลาคม 2517 - 25 มกราคม 2518
• 14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
o 7 กุมภาพันธ์ 2518 -12 มกราคม 2519
• 15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
o 19 เมษายน 2519 - 6 ตุลาคม 2519
o 6 กุมภาพันธ์ 2544 - 5 มกราคม 2548
• 16. พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา
o 22 ตุลาคม 2519 - 20 พฤศจิกายน 2519
• 17. พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล
o ประธานรัฐสภา และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
 28 พฤศจิกายน 2519 - 20 ตุลาคม 2520
o ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 25 พฤศจิกายน 2520 - 22 เมษายน 2522
o ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
 9 พฤษภาคม 2522 - 19 มีนาคม 2526
• 18. นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
o 26 เมษายน 2526 - 19 มีนาคม 2527
• 19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน
o ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
 30 เมษายน 2527 - 30 เมษายน 2528
 1 พฤษภาคม 2528 - 23 เมษายน 2530
 24 เมษายน 2530 - 22 เมษายน 2532
 3 เมษายน 2335 - 26 พฤษภาคม 2535
o ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 2 เมษายน 2534 - 21 มีนาคม 2535
• 20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
o 4 พฤษภาคม 2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534
• 21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา
o 28 มิถุนายน 2535 - 29 มิถุนายน 2535
• 22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
o 22 กันยายน 2535 - 19 พฤษภาคม 2538
• 23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
o 11 กรกฎาคม 2538 27 กันยายน 2538
• 24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
o 24 พฤศจิกายน 2539 - 27 มิถุนายน 2543
• 25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
o 30 มิถุนายน 2543 - 9 พฤศจิกายน 2543
• 26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
o 8 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549
• 27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
o 23 มกราคม 2551 - เมษายน 2551
• 28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
o 15 พฤษภาคม 2551 - (ปัจจุบัน)

ประวัติการ ปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย

ประวัติการ ปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย
รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476
เป็น รัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย (ซึ่งบางครั้งจะไม่นับ รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นครั้งแรก) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติ ธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาลคณะราษฎร อันสืบเนื่องจากการยื่น "สมุดปกเหลือง" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับ และเมื่อถึงขั้นวิกฤต "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์ พิทยายุทธ์ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
การปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน ๙๙ นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จาก พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห าป ร ะ ช า ธิ ป ก พ ร ะ ป ก เ ก ล้ าเ จ้ า อ ยู่ หั ว รั ช ก า ลที่ ๗ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า อ ยู่ หั ว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น
**********************************************************************
รัฐประหาร ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ
**********************************************************************
กบฏบวชเดช ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ
**********************************************************************
กบฏนายสิบ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๘
ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา
**********************************************************************
กบฏพระยาทรงสุรเดช ๒๙ มกราคม ๒๔๘๑
ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้าง รัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พ ร ะ เ จ้ า บ ร ม ว ง ศ์ เ ธ อ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน
**********************************************************************
รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
**********************************************************************
กบฏแบ่งแยกดินแดน ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑
จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนรา ษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง
**********************************************************************
รัฐประหาร ๖ เมษายน ๒๔๙๑
คณะ นายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป
**********************************************************************
กบฏเสนาธิการ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๑
พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ
**********************************************************************
กบฏวังหลวง ๒๖ มิถุนายน ๒๔๙๒
นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง
**********************************************************************
กบฏแมนฮัตตัน ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔
นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ
**********************************************************************
รัฐประหาร ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๔๙๒ ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ มาใช้อีกครั้งหนึ่ง
**********************************************************************
กบฏสันติภาพ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๗
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก ๕ ปี
**********************************************************************
รัฐประหาร ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ
**********************************************************************
รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑
เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
**********************************************************************
รัฐประหาร ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา ๓ ปี
**********************************************************************
ปฏิวัติโดยประชาชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิต นักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ
**********************************************************************
ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
**********************************************************************
กบฎ ๒๖ มีนาคม ๒๕๒๐
พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ ๔ แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๐
**********************************************************************
รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง ๑๒ ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว
**********************************************************************
กบฎ ๑ เมษายน ๒๕๒๔
พล เอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้
**********************************************************************
การก่อความไม่สงบ ๙ กันยายน ๒๕๒๘
พัน เอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน ๔ ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
**********************************************************************
รัฐประหาร ๒๓กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔
โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
**********************************************************************
รัฐประหาร ๑๙กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
รัฐ ประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นรัฐประหารในประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ
และขณะ เดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ข่าวการรัฐประหารโดยได้พยายามติอต่อช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อการออกโทรทัศน์ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมไว้จึงทำให้การออกโทรทัศน์ไม่ได้และมีการโฟน อินไปยังช่อง ๙ ประกาศใช้ พ.ร.ก สถานการณ์ฉุกเฉิน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ
ต่อ มาเมื่อมีการยึดพื้นที่ได้ทำให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือน ตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสีย เลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็น พันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"
ภาย หลังรัฐประหาร คปค.ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน ๔๑ จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ ๓๕ จังหวัด
เอกสารอ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย", สำนัก พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ
1. กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
2. กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์ หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจ สถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับ มาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ
ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่
• สาเหตุแรก สภาพบ้าน เมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่ และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์ จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ
• สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสีย ประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
• สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการ ประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการ ปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
76 ปี ประชาธิปไตยไทย

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้
เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า
"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้ คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศ เพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว"
"ฯลฯ.......เหตุ ฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจล งม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้าน มาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"
คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทาง เศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า " ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือ กฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหา กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบ ประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"
วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า
"ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัว บุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้
ข้าพเจ้ามี ความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"
76 ปีที่ผ่านมาจนบัดนี้ สถานการณ์บ้านเมืองดังที่คณะราษฎรได้หยิบยกขึ้นมาประกอบเพื่อเป็นเหตุผลใน การปฏิวัติยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วนทุกประการ ซ้ำร้ายหลายประการยิ่งเลวร้ายขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า"คนสอพลอไร้คุณงาม ความรู้ขึ้นดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ การไม่ฟังเสียงราษฎร การปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในการรับสินบนทุจริตคอรัปชั่น การหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน การปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม การทำตนอยู่เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้" หลักใหญ่ 5 ประการที่เสมือนนโยบายดังได้ประกาศไว้ และให้ความหวังไว้ว่าจะนำความสุขความเจริญอย่างประเสริฐเยี่ยง "ศรีอาริย์" มาบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า ดูเหมือนกำลังจะนำพาประเทศชาติไปสู่ "กลียุค" เข้าทุกขณะ
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และฉบับต่อมาหลายฉบับ คือการ "ล้มเจ้า" และบังอาจจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผยและร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณะ
วันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงขึ้นครองราชย์ ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพระราชปณิธานว่า "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
62 ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล และทศพิธราชธรรมที่มั่นคง เป็นสิ่งที่นำพาชาติไทยให้ร่มเย็นเป็นสุขและอยู่รอดตลอดมา